สวัสดี ค่ะ ยินดีต้อนรับ สู่.... ห้องสมุดประชาชน " เฉลิมราชกุมารี " อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ข้อมูลท้องถิ่น

สภาพทั่วไปอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติเกี่ยวกับการจัดตั้งอำเภอดอนเจดีย์
ตามประวัติศาสตร์ชาติไทย ระบุไว้เมื่อปีพุทธศักราช 2135 องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์ไทยครองกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อองค์พระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี(พม่า)และได้โปรดเกล้าให้จัดสร้างพระสถูปเจดีย์ ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ ณ ตำบลหนองสาหร่ายถึงปีพุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มการฟื้นฟูบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์ขึ้น และได้กำหนดสงวนที่ดิน สำหรับบริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ไว้ จำนวน 376 ไร่ และได้ทรงกำหนดแบบก่อสร้างองค์พระสถูปเจดีย์ขึ้นครอบซากองค์พระสถูปเจดีย์องค์เดิม
ปีพุทธศักราช 2494 คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างจากเงินงบประมาณ ร่วมกับเงินบริจาคจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จำนวนเงินทั้งสิ้น5,324,326.20 บาท โดยมีจอมพลผิน ชุณหวัณ เป็นองค์ประธานในการบูรณะ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2498 และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน ในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง พระอนุสาวรีย์องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช การบูรณะ ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยปี พ.ศ.2502 และในปัจจุบันทางราชการได้กำหนดถือเอาวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เป็นวันรัฐพิธีเพื่อถวายเครื่องราชสักการะ แด่องค์พระวิญญาณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในตอนนั้นชื่อ "ดอนเจดีย์" เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ซึ่งขึ้นการปกครองอยู่กับอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ ข้ามฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน)ไปทางทิศตะวันตก 16 กิโลเมตรเมื่อองค์พระสถูปเจดีย์ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชุมชนตำบลดอนเจดีย์ก็เติบโตขึ้นตามลำดับจนกระทั่งปี พ.ศ. 2505 ทางราชการจึงได้ยกฐานะตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย ตำบลสระกระโจม และตำบลไร่รถ ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2508

สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
อำเภอดอนเจดีย์มีพื้นที่ 252.018 ตารางกิโลเมตร แม้ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของจังหวัดสุพรรณบุรีก็ตาม แต่สภาพพื้นที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะมีพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง สภาพพื้นที่อำเภอดอนเจดีย์ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยถือเอาความสมบูรณ์ของพื้นที่เป็นเครื่องวัด จะได้ 2 ประเภทคือ
1. พื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน และมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรได้แก่ พื้นที่ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลไร่รถ และตำบลหนองสาหร่าย
2. พื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน และมีสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง ขาดแหล่งน้ำอุปโภค บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรเกือบตลอดปี ได้แก่พื้นที่ตำบลทะเลบก ตำบลสระกระโจม และพื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และตำบลไร่รถทิศตะวันตก
สภาพแตกต่างเช่นนี้เนื่องมาจากพื้นที่ทางด้านตะวันตกของอำเภอดอนเจดีย์นั้นมีความสูงและความลาดต่ำลงทางทิศตะวันออกอันเป็นที่ตั้งของตำบลดอนเจดีย์และตำบลหนองสาหร่าย รวมทั้งตำบลไร่รถอันมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านประกอบกับพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของตำบลสระกระโจม และตำบลทะเลบกนั้นไม่มีสภาพเป็นป่าไม้ เป็นเพียงนาป่าหัวไร่ปลายนา และมีสภาพทางด้านอากาศผิดแปลกแตกต่างกันด้วย

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามชุก อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าไซและอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ประชากรและพื้นที่การปกครอง
อำเภอดอนเจดีย์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากตัวจังหวัด31 กิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชากร 45,779 คนชาย 22,441 คน หญิง 23,338 คน


ที่ ตำบล จำนวน
หมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนหลังคาเรือน

1 ดอนเจดีย์ 9 12,660 4,558
2 ไร่รถ 7 9,560 1,583
3 หนองสาหร่าย 9 8,339 1,999
4 สระกระโจม 8 9,567 2,404
5 ทะเลบก 11 5,653 1,759
รวม 44 45,779 12,303


ที่มา : สำนักงานกลางทะเบียนราษฏร กรมการปกครอง ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2551





การปกครองท้องถิ่น
5.1 องค์การบริการส่วนตำบล(อบต.)มี 5 แห่ง ครบทุกตำบล คือ อบต.ดอนเจดีย์หนองสาหร่าย ไร่รถ สระกระโจม และทะเลบก มีสมาชิก อบต.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อ 28 เมษายน 2539 จำนวน 86 คน
5.2 สุขาภิบาลมี 2 แห่งคือ
1. สุขาภิบาลดอนเจดีย์ตั้งเมื่อ 28 มีนาคม 2506 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 305 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7,234 คนจำนวนบ้านเรือน 1,153 หลังคาเรือน
2. สุขาภิบาลสระกระโจม ตั้งเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2516 ตำบลสระกระโจม
อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,636 คน จำนวนบ้านเรือน 579 หลังคาเรือน

สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเอกชนที่สำคัญ
ปัจจุบันสถานที่ราชการส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
หมู่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ประกอบไปด้วย
6.1 ที่ว่าการอำเภอดอนเจดีย์
6.2 สถานีตำรวจภูธร อำเภอดอนเจดีย์
6.3 โรงพยาบาลอำเภอดอนเจดีย์
6.4 สำนักงานเกษตร อำเภอดอนเจดีย์
6.5 ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข อำเภอดอนเจดีย์
6.6 ชุมสายโทรศัพท์ อำเภอดอนเจดีย์
6.7 โรงเรียนดอนเจดีย์ (ประถมศึกษา)
6.8 สำนักงานสหกรณ์ อำเภอดอนเจดีย์
6.9 สำนักงานที่ดิน อำเภอดอนเจดีย์
6.10 สำนักงานสาธารณสุข อำเภอดอนเจดีย์
6.11 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอนเจดีย์
6.12 ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
6.13 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สุขาภิบาลดอนเจดีย์

ด้านเศรษฐกิจ
อำเภอดอนเจดีย์มีพืชเศรษฐกิจได้แก่ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก เพราะราษฎรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่(อ้อย) เลี้ยงสัตว์(โค สุกร ไก่พันธุ์) และประมงน้ำจืด(กุ้ง ปลาจระเข้) ส่วนผลไม้ที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว ปัจจุบันเกษตรกรบางส่วนหันมาดำเนินการเกษตรประเภทไร่นาสวนผสม ปลูกไม้ผลอายุสั้นกันบ้างแล้วได้แก่พุทรา เป็นต้น

การค้าและบริการ
เนื่องจากอำเภอดอนเจดีย์มีสุขาภิบาล 2 แห่งคือสุขาภิบาลดอนเจดีย์และสุขาภิบาลสระกระโจม สำหรับสุขาภิบาลดอนเจดีย์นั้นมีธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง และมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์อีก 1 แห่งส่วนสุขาภิบาลสระกระโจมนั้นยังไม่มีธนาคารเข้าไปตั้งเพราะเศรษฐกิจยังไม่ดีการค้าขายมีในตลาดสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่ง

ด้านอุตสาหกรรม
มีผู้ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมแต่ไม่มากนักได้แก่ โรงสีข้าว 7 แห่ง โรงโม่หิน 1 แห่ง โรงไม้แปรรูปและโรงงานมันเส้นขนาดเล็ก 3 แห่ง โรงงานใหญ่ๆ ยังไม่มี ด้านเศรษฐกิจจึงยังไม่เติบโตเท่าใดนัก

การไฟฟ้า
อำเภอดอนเจดีย์ ได้ขยายเขตการไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านจำนวน 5 ตำบล 44 หมู่บ้าน7,192 ครัวเรือน เหลือบ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2,992 ครัวเรือน






ประเภทของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำท่าคอย
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
- แม่น้ำท่าคอย
- คลองชลประทานสายมะขามเฒ่า-อู่ทอง
- คลองชลประทานสายสามชุก-ท่าเสด็จ

ปัญหาแหล่งน้ำ
อำเภอดอนเจดีย์ ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำใต้ดินยังไม่เพียงพอ จะขาดแคลนในฤดูแล้ง ถึงแม้จะมีระบบชลประทานบางส่วนหากน้ำต้นทุนมีน้อย เนื่องจากภาวะฝนแล้งราษฎรอำเภอดอนเจดีย์จะไม่ได้รับน้ำจากคลองชลประทาน อำเภอดอนเจดีย์กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา ทั้งปัญหาระยะสั้นและปัญหาระยะยาวอย่างต่อเนื่อง




ตำบล ประเภทแหล่งน้ำ
แม่น้ำ คลอง บาดาล บ่อน้ำ สระ
ดอนเจดีย์ 1 2 23 86 12
ไร่รถ 1 2 19 17 9
หนองสาหร่าย - 2 15 6 16
สระกระโจม - - 70 14 25
ทะเลบก - - 57 15 27
รวม 2 6 184 138 89
ตำบล ประเภท (ไร่ ) รวม
ทำนา ทำไร่ ไม้ผล พืชไร่
ดอนเจดีย์ 20,391 550 560 36 21,537
ไร่รถ 36,280 550 560 36 37,426
หนองสาหร่าย 36,754 2,355 475 - 39,584
สระกระโจม 25,800 543 - - 26,334
ทะเลบก 41,604 1,814 58 - 43,476
รวม 160,829 5,803 1,653 72 168,357

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี : ม.ป.น

การสาธารณูปโภค
ด้านการสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึงดีนัก กล่าวคือการประปามีเฉพาะในเขตสุขาภิบาล และบางหมู่บ้านเท่านั้น การไฟฟ้าเข้าถึงทุกตำบลแต่ยังไม่ครบทุกหมู่บ้านประชาชนมีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ 85

การคมนาคม
มีทางหลวงแผ่นดิน 3 สาย ทางหลวงท้องถิ่น 36 สาย และทางหลวงชนบทอีก592 สาย สภาพโดยทั่วไปยังต้องปรับปรุงซ่อมแซมอีกมาก โดยเฉพาะทางหลวงท้องถิ่นและทางหลวงชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้การได้ตลอดปี ในช่วงฤดูฝนนั้นน้ำท่วมขังถนนหลายสาย ทำให้ถนนเกิดการชำรุดเสียหายมาทุกปี ประชาชนพลอยได้รับความเดือดร้อน และได้รับความลำบากซึ่งยังคงต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ในการที่จะปรับปรุงซ่อมแซมถนนเหล่านี้ให้ดีขึ้น ซึ่งทราบว่าฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ได้มอบนโยบายการสร้าง-ซ่อมแซม ถนนทุกตำบล หมู่บ้านโดยมอบให้กรมโยธาธิการและ รพช.เป็นผู้ดำเนินการปัญหาเกี่ยวกับการคมนาคมจึงหมดสิ้นไป




ด้านการอนามัย

อำเภอดอนเจดีย์มีสถานีอนามัยตำบล จำนวน 10 แห่งดังนี้


ตำบล หมู่บ้าน จำนวน จำนวนบุคลากร
ที่ตั้ง สถานีอนามัย พนักงาน ผดุงครรภ์ ลูกจ้าง อสม.
ดอนเจดีย์ 8 1 - 2 - 50
ไร่รถ 3,5 2 2 2 - 58
หนองสาหร่าย 4,6 2 2 2 - 59
สระกระโจม 3,6 3 2 3 - 80
ทะเลบก 1,6 2 3 1 - 85
รวม 9 10 9 10 - 332


โรงพยาบาล
โรงพยาบาลดอนเจดีย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงกำลังขยายเป็น 60 เตียงโดยการสนับสนุนของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา มีบุคลากรดังนี้ คือนายแพทย์ 1 คนทันตแพทย์ 1 คน พยาบาล 26 คน เภสัชกร 1 คน เจ้าหน้าที่/ลูกจ้าง 49 คน รวม 79 คน

ด้านการศึกษา
อำเภอดอนเจดีย์มีสถานศึกษาจำนวน 32 โรงเรียน,สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ สังกัด สปช. 29 โรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา 2 โรงเรียน,สังกัดคณะกรรมการศึกษาเอกชน 1 โรงเรียน




ด้านศาสนา
วัดจำนวน 33 แห่ง สำนักสงฆ์จำนวน 2 แห่ง ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจำนวน 1 แห่ง โรงเรียนปริยัติธรรมจำนวน 6 แห่ง แผนกบาลีจำนวน 2 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านจำนวน 15 แห่ง

ด้านสังคมและการเมือง
อำเภอดอนเจดีย์อยู่ในภาคกลางใช้ภาษาไทยภาคกลาง ไม่มีปัญหาในด้านสื่อภาษาประชาชนนับถือศาสนาพุทธมีวัฒนธรรมและประเพณีกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหา ในด้านการปกครองราษฎรส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนกันอย่างกระจัดกระจายเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละประมาณ 5-10 ครัวเรือนชอบอยู่ในหมู่เครือญาติและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ชาวดอน-เจดีย์สนใจในเรื่องการเมืองมากและมีความตื่นตัวต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นมากเช่นการเลือกตั้งองค์การบริการส่วนตำบล สมาชิกสภาจังหวัด กรรมการสุขาภิบาล การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น จะมีผู้สนใจสมัครรับเลือกตั้งกันมาก
อำเภอดอนเจดีย์อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย อำเภอดอนเจดีย์ หนองหญ้าไซ สามชุก เดิมบางนางบวช ด่านช้าง พื้นที่ของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภออู่ทองบางส่วน เขตเลือกตั้งที่ 2 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน คือ
1. สส.ประภัตร โพธสุธน
2. สส.เสมอกัน เที่ยงธรรม
สมาชิกสภาจังหวัด เขตอำเภอดอนเจดีย์ มี 2 คน คือ
1. นายศรีวิชัย บุญศรีสุวรรณ รองประธานสภาจังหวัดสุพรรณบุรี
2. นางสุนิสา สินไพบูลย์ผล






สถานที่ท่องเที่ยว
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาลดอนเจดีย์ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำในพระมหาวีรกรรมขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ. 2135พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาบวงสรวงถวายสักการะ และประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 และรัฐบาลได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันกองทัพไทยและเป็นวันถวายราชสักการะเป็นประจำทุกปี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดให้มีงานพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ควบคู่ไปกับงานกาชาดจังหวัด ณ บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นประจำทุกปีเช่นกัน พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชาชนทั่วประเทศมาเคารพสักการะกันมาก

พระตำหนักจันทร์เกษม
ตั้งอยู่ที่วัดดอนเจดีย์ หมู่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ริเริ่มก่อสร้างโดยพระราชปริยัติคุณาภรณ์รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี และเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ ในปัจจุบันได้จำลองแบบมาจากพระราชวังจันทร์เกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 10 ล้านบาทภายในพระตำหนักมีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถในพระอิริยาบทแตกต่างจากที่เคยได้พบเห็น สำหรับมุขด้านหน้าบรรณของพระตำหนักได้ประดับฐานพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเจ้ายาเธอทุกพระองค์ โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว นับได้ว่าพระตำหนักจันทร์เกษมเป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ที่มีความสวยสดงดงาม และเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง ที่ชาวดอนเจดีย์เคารพสักการะและภูมิใจมาก





ห้องสมุดประชาชน”เฉลิมราชกุมารี”อำเภอดอนเจดีย์
สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมรี ที่ทรงมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เป็นห้องสมุดทรงไทยประยุกต์ที่สวยงามมาก

บึงหนองสาหร่าย
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ ซึ่งเป็นบึงประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จนำทัพมาพักรวมพล ก่อนกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี

สินค้าพื้นเมืองที่น่าสนใจ
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง หมู่ที่ 4 บ้านนเรศ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัด
สุพรรณบุรี
2. ผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวา หมู่ที่ 1,2 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัด
สุพรรณบุรี
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์หมู่ที่ 3 บ้านสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

สาระน่ารู้
1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้นำคณะเสือป่ามาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2456 และทรงให้ใช้คำว่า ”ชโย” ในเพลงสรรเสริญพระบารมี และทรงนำคณะเสือป่าเปล่งเสียงคำว่า “ชโย” ณ บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ต่อมาได้แปลงเป็น ”ไชโย” จนเป็นที่นิยมใช้กันตลอดมาตราบเท่าทุกวันนี้
2. งานประจำปีของจังหวัด แต่ได้มาจัด ณ อำเภอดอนเจดีย์ทุกปี คืองานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 - 31 มกราคม ของทุกปี บางปีจัดให้มีถึง 12 วันแล้วแต่นโยบายของจังหวัด จุดเด่นของงานนี้ก็คือการแสดงแสงเสียง Light &Sound ซึ่งแสดงให้ทราบถึงวีรกรรมทางประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นการแสดงแสงเสียงที่ยิ่งใหญ่ และแปลกตากว่าที่อื่นเพราะลงทุนมากและใช้คนแสดงเกือบ 1 พันคน
3. ถนนสายสุพรรณบุรี –ดอนเจดีย์ โดย ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ริเริ่มให้ก่อสร้างขึ้นมา แทนถนนสายเดิมที่คดเคี้ยว คับแคบ เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้ชื่อว่า เป็นถนนสายที่สวยที่สุดในประเทศไทยเพราะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 เลนใหญ่ มีเกาะกลางที่ตกแต่งด้วยต้นเข็ม มีไฟฟ้าให้แสงสว่างเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้สองข้างทางยังปลูกต้นหางนกยูงมีรั้วรอบสองข้างถนนอย่างเป็นระเบียบช่วงเดือนเมษายน –มิถุนายน ของทุกปี จะออกดอกสีส้มบานสะพรั่งสวยงามตลอดทาง เป็นที่ประทับตาประทับใจ แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง