แหล่งเรียนรู้อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
แหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงโคเนื้อ
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง บ้านดอนกระเพรา หมู่ที่ 8 ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
การเลี้ยงโค บ้านดอนกระเพรา หมู่ 8 ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีการเลี้ยงโคตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย โดยต่างคนต่างเลี้ยง เมื่อนายมงคล พุทรา ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจึงได้มีการประชุมประชาชนในหมู่บ้านและได้จัดตั้งกลุ่มการเลี้ยงโคขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตในด้านค่าใช้จ่ายการนำวัคซีนและมีเงินออมเพื่อหมุนเวียนภายในกลุ่ม มีศาลาอเนกประสงค์เป็นสถานที่จัดตั้งกลุ่มการเลี้ยงโค โดยมีนายกุล พุทรา เป็นประธานกลุ่ม
แหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงโคเนื้อ
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง บ้านหนองสระ หมู่ที่ 3 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
การเลี้ยงโค บ้านหนองสระ หมู่ 3 ตำบลดอนเจดีย์ ได้เริ่มจัดตั้งกลุ่มในปี พ.ศ. 2548 โดยมี นายนิวัฒน์ เอี่ยมเกตุ เป็นประธานกลุ่มพัฒนาอาชีพ มีสมาชิกเริ่มแรกประมาณ 30 คน ต่อมาได้เปลี่ยนกลุ่มพัฒนาอาชีพเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและได้ขยายสมาชิกเพิ่มขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้คัดเลือกประธานกลุ่มใหม่ โดยมีนายประวิทย์ เปี่ยมสะอาด เป็นประธานกลุ่มคนปัจจุบัน
แหล่งเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง บ้านหนองแจง หมู่ที่ 4 ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
แหล่งเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ เกิดขึ้นเนื่องจากชาวบ้านหนองแจง หมู่ที่ 4 ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน สามารถทำนาได้เพียงปีละครั้ง และมีการใช้สารเคมีทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ประชาชนจึงมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และมีสุขอนามัยที่ดี ประชาชนจึงสนใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการทำน้ำสกัดชีวภาพจนปัจจุบันนี้สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ วิทยาการดังกล่าวให้กับผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
แหล่งเรียนรู้ การทำปุ๋ยชีวภาพ
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง แหล่งการเรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 9 หมู่ 3 บ้านหนองขุม
ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ เพื่อให้เกษตรกร ในหมู่ 3 บ้านหนองขุมซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในการทำการเกษตรการทำนาเป็นส่วนใหญ่ ให้ได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีราคาถูกและรวมกลุ่มกันทำ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและมีความปลอดภัยในสารเคมี โดยมีนายเฉลิม โพธิ์สุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม
แหล่งเรียนรู้ การเพาะเห็ดปลอดสารพิษ
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง บ้านหนองแจง บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 4 ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
แหล่งเรียนรู้ การเพาะเห็ดปลอดสารพิษ ได้เกิดขึ้นเนื่องจาก บ้านหนองแจง หมู่ที่ 4 ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน เมื่อถึงฤดูแล้งไม่สามารถทำนาได้ ประชาชนจำเป็นต้องออกไปประกอบอาชีพต่างถิ่น ให้ผู้สูงอายุและเด็กอยู่กับบ้าน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอดอนเจดีย์ ได้เชิญวิทยากรให้ความรู้กับประชาชนในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานปลอดสารพิษ วิธีการเปิดดอก และจำหน่ายเพื่อให้ประชาชนมีรายได้และอาชีพเสริม ปัจจุบันนี้สามารถถ่ายทอดเผยแพร่วิชาการดังกล่าวให้กับผู้สนใจได้ศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้
แหล่งเรียนรู้ การทอผ้าด้วยกี่กระตุก
ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ที่ตั้ง บ้านหนองสานแตร หมู่ที 6 ตำบลทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
การทอผ้าด้วยกี่กระตุกของบ้านหนองสานแตร หมู่ 6 ตำบลทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี นั้นมีการเริ่มจากการทอผ้าใช้เองภายในหมู่บ้านตั้งแต่ปู่ย่า ตายายต่างคนต่างทอผ้าต่อมาได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุก โดยมีนางสมหมาย ไทยศรี เป็นประธาน เพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิต และมีประโยชน์ในการจัดจำหน่ายสินค้า ที่ได้รับการพัฒนา จากการทอผ้าใช้เองมาเป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้านและตำบลทะเลบก ซึ่งได้การสนับสนุน
แหล่งเรียนรู้ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
ประเภทแหล่งเรียนรู้ โบราณสถาน
ที่ตั้ง หมู่ 5 ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ 376 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดทางทิศเหนือ 31 กม. การเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 340 เดินทางถึง อ.ศรีประจันต์ เลี้ยวซ้ายไป อ.ดอนเจดีย์
ประวัติ
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากจังหวัด
ประมาณ 31 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 322 (สุพรรณบุรี – ดอนเจดีย์) ประกอบด้วยพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกสึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และถือเป็นวันกองทัพไทย พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร
แหล่งเรียนรู้ วัดดอนเจดีย์
ประเภทแหล่งเรียนรู้ อุทยานประวัติศาสตร์ และ แหล่งฝึกอาชีพ
ที่ตั้ง วัดดอนเจดีย์ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะอยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าจีน และมีวีรกรรม สร้างวีรบุรุษมากมาย โดยเฉพาะสงครามยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช กับ พระมหาอุปราชาจนได้รับชัยชนะ ณ บริเวณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ ทำให้ชาติไทยดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์พบว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถเคยใช้พระราชวังจันทร์เกษมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประทับ ชาวจังหวัดสุพรรณบุรีจึงพร้อมใจกันบริจาคเงินสร้าง พระตำหนักขึ้น โดยส่วนหนึ่งจำลองมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระตำหนักแห่งนี้ประกอบด้วยมุข 6 หน้า
จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะอยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าจีน และมีวีรกรรม สร้างวีรบุรุษมากมาย โดยเฉพาะสงครามยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช กับ พระมหาอุปราชาจนได้รับชัยชนะ ณ บริเวณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ ทำให้ชาติไทยดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์พบว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถเคยใช้พระราชวังจันทร์เกษมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประทับ ชาวจังหวัดสุพรรณบุรีจึงพร้อมใจกันบริจาคเงินสร้าง พระตำหนักขึ้น โดยส่วนหนึ่งจำลองมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระตำหนักแห่งนี้ประกอบด้วยมุข 6 หน้า
แหล่งเรียนรู้ บึงหนองสาหร่าย
ประเภทแหล่งเรียนรู้ อุทยานประวัติศาสตร์ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
ปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับสมเด็จพระมหาอุปราชา บึงหนองสาหร่ายตามสภาพของภูมิประเทศทางด้านทิศเหนือของบึงหนองสาหร่าย เป็นพื้นดินสูง และลาดต่ำลงมาทางทิศใต้ซึ่งเป็น ลักษณะภูมิประเทศที่ดีเป็นไปตามตำรับ พิชัยสงคราม เป็นที่พักทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก่อนที่จะทำสงครามยุทธหัตถีเป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ สามารถให้ทหารทั้งกองทัพ และช้างศึก ม้าศึก ได้ดื่มกินได้นานเป็นแรมเดือน ปัจจุบันสภาพหนองน้ำ บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ร่มรื่น และมีรั้วล้อมรอบตลอด เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชน”เฉลิมราชกุมารี”อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด
ที่ตั้ง 759 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ หมู่5 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 0-3550-7447 เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 โดยความร่วมมือ ร่วมใจ ภาครัฐ และคณะสงฆ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี การก่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ เริ่มแรกนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีพระราชปริยัติสุธี เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ได้แบ่งเนื้อที่วัดดอนเจดีย์ จำนวน 2 ไร่ และเป็นผู้ที่หาทุนทรัพย์ในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในการดำเนินการสร้างนั้นได้มอบหมายให้พระมหาประไพ ปุญญกาโม เจ้าคณะตำบลดอนเจดีย์ (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง